ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์สามารถเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ได้ง่ายดายและรวดเร็วขึ้น ซึ่งส่งผลดีในด้านธุรกิจด้วยเช่นกัน แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยให้การเดินทางท่องเที่ยวรวดเร็วและง่ายขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ไฮเปอร์ลูป

ไฮเปอร์ลูป เป็นอีกหนึ่งโซลูชันที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้ เกิดขึ้นจากการนำรถไฟความเร็วสูงไปวิ่งในท่อที่ลดแรงดันอากาศลงจนใกล้สุญญากาศ เพื่อเพิ่มความเร็วขึ้น โดยสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 900 กม./ชม.

TUM Hyperloop เป็นทีมวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งมิวนิก ประเทศเยอรมนี ผู้สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อใช้กับระบบขนส่งความเร็วสูง โดยมี “ไฮเปอร์ลูป” เป็นผลงานสำคัญของทีม

 

ทีม TUM Hyperloop ได้โปรแกรมต่าง ๆ จาก Siemens เข้ามาช่วยในการ set up และสร้าง simulation (แบบจำลอง) ในโปรเจกต์นี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า Hyperloop (ไฮเปอร์ลูป) เป็นระบบขนส่งที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์ และสามารถใช้งานได้จริง

TUM Hyperloop เป็นทีมที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษามากมายมาเป็นที่ปรึกษา ทั้งยังได้รับความร่วมมือจากทีมนักศึกษา และได้ซอฟต์แวร์จาก Siemens ทั้งโปรแกรม NX และ Simcenter เข้ามาช่วยในการพัฒนาโปรเจกต์

Elon Musk จาก Space X ให้ความสนใจในโปรเจกต์ Hyperloop เป็นอย่างมาก โดยเปิดตัวแนวคิดนี้ในปี 2012 และได้ลงทุนไปกับโปรเจกต์ดังกล่าวด้วยการเป็นผู้นำในการแข่งขัน Hyperloop ซึ่งทีม TUM Hyperloop คว้าชัยชนะจากการแข่งขันนี้ไปได้ถึง 4 ครั้ง ระหว่างปี 2017-2019 ด้วยการออกแบบพอต (Pod) หรือแคปซูลโดยสารใน Hyperloop ที่สามารถวิ่งได้เร็วที่สุด ซึ่งหลังจากชนะการแข่งขัน ทีม TUM Hyperloop ก็เริ่มทำการวิจัยโปรเจกต์ไฮเปอร์ลูป โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลบาวาเรีย

ในการแข่งขันดังกล่าว SpaceX จะเป็นผู้สร้างท่อ และสมาชิกในทีม TUM Hyperloop เป็นผู้ออกแบบพอต แต่ปัจจุบัน ทีม TUM Hyperloop เป็นผู้ออกแบบทุกชิ้นส่วนเองทั้งหมด ซึ่งนอกจากความเร็วของไฮเปอร์ลูปที่ค่อนข้างโดดเด่นแล้ว ทีมยังต้องการพิสูจน์ให้เห็นอีกด้วยว่าไฮเปอร์ลูปที่พวกเขาออกแบบนั้นปลอดภัยและสามารถใช้โดยสารได้จริง

 

ทีม TUM Hyperloop ได้ใช้โปรแกรม NX CAD ช่วยในการออกแบบไฮเปอร์ลูปในการแข่งขัน SpaceX เพราะเป็นโปรแกรมที่เหมาะกับการทำงานในโมเดลขนาดใหญ่ แต่ในการทดสอบความปลอดภัยของไฮเปอร์ลูปก็ยังต้องอาศัยโปรแกรมอื่น ๆ เข้าช่วย

NX CAE (Simcenter Madymo) จึงเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ โดยช่วยในการสร้างแบบจำลองความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนน ใช้ข้อมูลการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (finite element) และพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ หรือ Computational Fluid Dynamics (CFD) เข้ามาวิเคราะห์ร่วมด้วย

ผลก็คือ สามารถสร้างแบบจำลองได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาในการเรียนรู้การใช้โปรแกรมและเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งยังสามารถประมวลผลได้เร็วขึ้น แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยของไฮเปอร์ลูปได้ระหว่างโดยสาร นอกจากนี้ โปรแกรม NX Simcenter ยังใช้ในการออกแบบพอต (pod) ผ่านไฟล์ดีไซน์ในโปรแกรม ซึ่งสามารถสร้างแบบจำลองการเคลื่อนไหวของพอตในไฮเปอร์ลูปได้

ยิ่งไปกว่านั้น ในการวิเคราะห์ไฮเปอร์ลูป ยังต้องวิเคราะห์และสร้างแบบจำลองผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ระหว่างที่ไฮเปอร์ลูปขับเคลื่อนอีกด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าระหว่างการเร่งความเร็ว และการเบรก จะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ หรือเกิดอันตรายต่อผู้โดยสาร

ซึ่งผลการจำลองแสดงให้เห็นว่าผู้โดยสารจะไม่ได้รับผลกระทบหรือได้รับบาดเจ็บรุนแรง ซึ่งก็ตรงกับมาตรฐานความปลอดภัยที่ European New Car Assessment Program (EuroNCAP) กำหนดไว้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโอกาสได้รับบาดเจ็บจะไม่มีเลย จึงได้มีการทดสอบด้วยการเติม element ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารตกออกจากที่นั่งตัวเอง ซึ่งแบบจำลองดังกล่าวก็แสดงให้เห็นว่าผู้โดยสารจะได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง

ผลงานออกแบบไฮเปอร์ลูปของทีม TUM Hyperloop ได้รับการรับรองจาก TÜV SÜD องค์กรทดสอบความปลอดภัยในประเทศเยอรมนี ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการตรวจสอบและรับรองระบบของทุกอุตสาหกรรม โดยมีสาขาอยู่ทั่วโลก ซึ่งหลังจากได้รับการรับรองจาก TÜV SÜD ไฮเปอร์ลูปของทีม ก็สามารถนำมาใช้ในการทดสอบระบบขนส่งไฮเปอร์ลูปต่อไปในอนาคตได้

นอกจากในเรื่องความปลอดภัยที่ทีมให้ความสำคัญแล้ว การดำเนินการทดสอบทางกายภาพของไฮเปอร์ลูปก็สำคัญไม่แพ้กัน เพื่อให้สามารถสร้างแบบจำลองรางรถไฟที่ยาวขึ้น รวมทั้งทดสอบการวิ่งในความเร็วที่เพิ่มมากขึ้นได้

การทดสอบนี้อาจกลายเป็นการปฏิวัติการเดินทางภายในทวีปเลยก็ว่าได้ เพราะในอนาคตหากการทดสอบสำเร็จและมีการใช้ไฮเปอร์ลูปขึ้นมาจริง ทุกคนจะสามารถเดินทางได้ที่ความเร็ว 900 กม./ชม. ซึ่งเทียบได้กับความเร็วของเครื่องบิน แต่สถานีไฮเปอร์ลูปจะอยู่ในเมือง ซึ่งต่างจากโลเคชั่นสนามบินที่มักจะอยู่นอกเมืองและต้องใช้เวลาเดินทางค่อนข้างนาน การใช้ไฮเปอร์ลูปจะช่วยลดระยะเวลาเดินทางไปยังสนามบิน ลดระยะเวลารอเครื่อง ทั้งยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมไปได้พร้อม ๆ กัน เพราะไฮเปอร์ลูปขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าเมื่อเทียบกับการเดินทางทางอากาศ และนอกจากจะใช้สำหรับโดยสารได้แล้ว ไฮเปอร์ลูปยังใช้ขนส่งสินค้าได้อีกด้วย เรียกได้ว่า ใช้ประโยชน์ได้สองต่อ

สำหรับการก่อสร้างระบบขนส่งใด ๆ ความปลอดภัยของผู้โดยสารจะต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งเมื่อนำโปรแกรม Simcenter เข้ามาช่วยในขั้นตอน Product Development ก็เท่ากับได้ตัวช่วยในการวิเคราะห์และจำลองความปลอดภัยของผู้โดยสารได้โดยไม่จำเป็นต้องนำความปลอดภัยของผู้โดยสารเข้ามาเสี่ยง ซึ่งการทดสอบความปลอดภัยของไฮเปอร์ลูปก่อนสร้างชิ้นงานต้นแบบ (prototype) นับว่าสำคัญมาก และหากไม่มีโปรแกรม Simcenter Madymo โปรเจกต์นี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย

ยังคงเป็นที่น่าจับตามองว่า ในอนาคตประเทศใดจะสามารถสร้างไฮเปอร์ลูปได้สำเร็จ และเปิดใช้งานได้จริงก่อนกัน จะเป็นจีนที่คาดการณ์การเปิดใช้งานไฮเปอร์ลูปสายแรกในปี 2035 หรือจะเป็นสหรัฐอเมริกา ที่สามารถชิงความเป็นหนึ่งและแซงหน้าในโปรเจกต์นี้ไปได้ก่อน…

 

 

——————————————————-

ติดต่อขอใบเสนอราคา, DEMO หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

02-079-1814 กด 1

inbox : http://m.me/HSSTfanpage

LINE@: @hitachisunwayth

https://hitachisunway-thailand.co.th