หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ทํารายได้ให้ประเทศไทยอย่างมหาศาลในทุกปี คือ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ความต้องการชิ้นส่วนของรถยนต์มีแนวโน้มจะลดลงทั่วโลก ความหวังที่อุตสาหกรรมไทยจะก้าวต่อไปได้คือการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วน “อากาศยาน” โดยพื้นฐานแล้วมีความใกล้เคียงกัน หากพัฒนาองค์ความรู้และเครื่องมือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ก็จะสามารถกลายเป็นผู้พัฒนาชิ้นส่วนอากาศยานได้

.

ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ก็สอดคล้องกับนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) ของรัฐบาล ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสามรถเป็นทางรอด และ เติบโตได้เป็นอย่างดีในอนาคต แล้วเครื่องมือหรือองค์ความรู้อะไรที่อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไทยควรต้องเร่งหามาเพิ่มเติม หรือเร่งศึกษาเพื่อพัฒนาธุรกิจให้สอดรับกับการเติบโตของโลกในอนาคตอันใกล้นี้ได้ การจะเข้าใจเรื่องนี้ ผมขอพาทุกท่านไปดูกรณีศึกษาของการพัฒนา บริษัท Piper Aircraft Inc. ผู้ผลิตเครื่องบินและอุปกรณ์การบินรายใหญ่ในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้เข้าใจอุตสาหกรรมการพัฒนาชิ้นส่วนอากาศยานให้ชัดเจนขึ้น

.

บริษัท Piper Aircraft Inc. ทํากิจการเกี่ยวกับเรื่องอากาศยาน ทั้งการสร้างเครื่องบิน ครูฝึกสอน ไปจนถึงอุปกรณ์เสริมอย่างกังหันเทอร์โบ มีการผลิตเครื่องบินมากกว่า 130,000 ลํา นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1937 และมีพนักงานกว่า 950 คน

.

ในปี 2017 Piper Aircraft Inc. ได้พัฒนาเครื่องบินที่มีน้ำหนักบรรทุกน้ำมันมากขึ้นและมีช่วงระยะการบินที่ยาวขึ้น เพื่อให้การสร้างสําเร็จลุล่วง บริษัทได้กําหนดที่จะพัฒนาเครื่องบินรุ่น M500 ที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงตามสิ่งต้องการ ดัดแปลงให้เป็นรุ่น M600 โดยใช้การออกแบบปีกเครื่องบินแบบ Clean Sheet ซึ่งเป็นหัวใจสําคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถและตอบสนองความต้องการของตลาด แต่ถึงอย่างนั้นการปรับขนาดโครงสร้างและการลดน้ำหนักตัวเครื่องบินก็ถือเป็นโจทย์ที่ใหญ่สําหรับบริษัท เพราะเครื่องบิน M500 ไม่ได้มีการเผื่อน้ำหนักเพิ่มเติมเพื่อสร้างเวอร์ชันใหม่

.

โจทย์นี้เองทำให้ Piper จำเป็นต้องหาซอฟต์แวร์ CAD ที่สามารถออกแบบปก Clean Sheet ที่มีลักษณะตรง เรียบ และมีส่วนเว้าโค้งน้อยกว่ารุ่นเก่า โดยพวกเขาได้เล็งเห็นว่า NX จะทำให้สามารถจัดวางโครงสร้างปีกตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งในการวางตําแหน่งซี่โครงบนปีก, สปาร์, แผ่นพับ ฯลฯ และเมื่อโครงสร้างและแบบจําลองโดยละเอียดทั้งหมดถูกจัดวางใน Simulation พวกเขาจึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดปัญหาใดตามมาในการสร้างจริง เพราะสามารถคํานวนถึงระยะขอบและตัวยึดทั้งหมดของปีกได้อย่างแม่นยํา

.

นอกจากนั้น ตัว NX เองได้ช่วยให้โรงงานสร้างสามารถมองเห็นภาพชิ้นส่วนทั้งหมดในเครื่องบินได้แบบเดียวกับที่วิศวกรเห็น และโรงงานผู้ผลิตยังสามารถส่งโมเดล 3 มิติมาเพื่อเช็คกับโมเดลของ Piper เพื่อดูว่ามีปัญหาใดๆ ได้อย่างทันที ทําให้ลดความผิดพลาดและเวลาที่ต้องเสียไปจากการร่างแบบและแก้แบบด้วยวิธีเก่า

.

ผลลัพธ์ของปีก Clean Sheet ของ M600 สามารถบรรทุกเชื้อเพลิงได้ มากกว่า M500 มากขึ้นถึง 35 เปอร์เซ็นต์! เป็นผลให้ M600 ทําระยะทางได้ถึง 1,658 ไมล์ทะเล ซึ่งมากกว่ารุ่นเดิมกว่า 40 เปอร์เซ็นต์! นอกจากนี้ปีกใหม่นี้ยังให้ความสามารถในการบรรทุกน้ำหนักที่ดีขึ้น โดยเพิ่มนำ้หนักบรรทุกได้มากกว่าเดิมถึง 29 เปอร์เซ็นต์ และการใช้เทคโนโลยี CAD ระดับโลกของ NX ช่วยให้ Piper ลดต้นทุนเครื่องบิน โดยสามารถนําค่าใช้จ่ายออกจากเครื่องบินได้ จากการระบุการประหยัดน้ำหนักที่คํานวณออกมาอย่างแม่นยําผ่านกระบวนการดังกล่าว

.

ด้วยเครื่องมือออกแบบที่ใช้งานง่ายและครอบคลุมอย่าง Siemens NX บริษัท Piper Aircraft สามารถเพิ่มผลผลิตและบรรลุเป้าหมายได้ตามกําหนด ยกระดับมาตรฐานความเป็นผู้นําด้านการบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

การจะพาอุตสาหกรรมไทยที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไปสู่การเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานเพื่อก้าวไปสู่การสร้างความมั่งคั่งในประเทศได้ในอนาคต ควรต้องเริ่มจากการกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้อง คือการใช้ Software ที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับโลก และช่วยให้การทํางานเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและเป็นไปตามมาตรฐานสากล Siemens NX พร้อมจะใช้ประสบการณ์ในระดับนานาชาติพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้มีศักยภาพการแข่งขันทัดเทียมกันกับต่างชาติในเวทีระดับโลกได้อย่างเข้มแข็ง

.

ติดต่อขอใบเสนอราคา, DEMO หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

02-693-2090-3 ต่อ 112 – 114

inbox : http://m.me/HSSTfanpage

LINE@: https://line.me/R/ti/p/@vti0035r