United Launch Alliance (ULA) เป็นบริษัทชั้นนำผู้ออกแบบและผลิตยานอวกาศให้กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา กระทรวงกลาโหม นาซ่า และสำนักงานลาดตระเวนแห่งชาติสหรัฐฯ ฯลฯ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2006 โดยการร่วมทุนระหว่าง “Lockheed Martin” บริษัทด้านอากาศยาน และอาวุธสงครามรายใหญ่ของโลก และ “The Boeing Company” บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานและยุทโธปกรณ์ในสหรัฐอเมริกา

.

การก่อตั้งของ ULA นับเป็นการควบรวมเอาฐานการผลิตจรวด Altas และ Delta เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจรวดทั้งสองลำ เป็นยานพาหนะที่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จที่สุดในการส่งจรวดขึ้นสู่อวกาศเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว ULA จึงใช้ความสำเร็จนี้เป็นต้นแบบและตั้งมั่นว่าทุกโปรเจกต์จะต้องประสบความสำเร็จและบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่นเดียวกับจรวด Altas และ Delta

.

แต่ระหว่างทาง ULA กลับพบกับความท้าทายใหม่ๆ อยู่ตลอด ส่วนหนึ่งก็เกิดจากโครงสร้างที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ของการผลิตจรวต ส่งผลให้ Data กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การทำงานของทีมง่ายขึ้น เพราะการรวมเอาข้อมูลจากหลายแหล่งเข้าไว้ด้วยกันในโปรแกรมเดียว ช่วยให้ทีมบรรลุเป้าหมายได้ในทุกโปรเจกต์

.

โดยก่อนที่ ULA จะนำ Teamcenter เข้ามาใช้ การเชื่อมต่อข้อมูลจากการวิเคราะห์ในขั้นตอนแรกไปยังขั้นตอนต่อไป จะต้องให้วิศวกรในทีมแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านการประชุม ตามด้วยการทบทวนข้อมูลที่ได้รับมา รวมทั้งวิเคราะห์พารามิเตอร์ต่างๆ ซึ่งขั้นตอนที่ไม่จำเป็นเหล่านี้นับว่าเป็นปัจจัยที่คอยกีดขวางศักยภาพในการแข่งขันของ ULA เลยก็ว่าได้ และเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและราบรื่นมากขึ้น รวมทั้งประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ULA จึงจำเป็นต้องใช้ตัวช่วยเพื่อควบคุมข้อมูลแบบจำลอง (Simulation) ทั้งหมด

.

โซลูชัน Simulation Process Management ใน Teamcenter จึงเป็นตัวช่วยที่ทีมเลือกใช้ ซึ่งช่วยในการจัดการข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงานของทีมได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ workflow การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำงานระหว่างทีมไม่ติดขัด อีกทั้งทีมวิศวกรยังสามารถตรวจสอบข้อมูลการวิเคราะห์ได้ตลอดระยะเวลาการทำงาน โดยสามารถย้อนดูข้อมูลได้ตั้งแต่เริ่มโปรเจกต์ และนำข้อมูลการวิเคราะห์เหล่านั้นมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ว่าข้อสันนิษฐานแรกที่ตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่ หรือยังคงต้องมีการปรับเปลี่ยนต่อไป ซึ่งการทำความเข้าใจและเปรียบเทียบการวิเคราะห์ รวมถึงการนำผลการทำงานจากโปรเจกต์ต่างๆ มาพัฒนาผลงานในโปรเจกต์ต่อมา นับว่าช่วยให้ ULA มีผลงานที่พัฒนาไปได้ค่อนข้างมาก

.

การส่งต่อข้อมูลระหว่างทีมโดยใช้ Teamcenter ก็มีส่วนช่วยในการทำงานในแต่ละโปรเจกต์ แม้ว่าจะเปลี่ยนทีมวิศวกร แต่ข้อมูลใน Teamcenter ก็ช่วยให้ทีมนำข้อมูลการวิเคราะห์มาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งข้อสันนิษฐานและหลักการวิเคราะห์ รวมไปถึงผลการวิเคราะห์ในโปรเจกต์ก่อนหน้า ยังมีส่วนช่วยให้การตัดสินใจของทีมง่ายขึ้นอีกด้วย

.

สรุปได้ว่า เมื่อ ULA นำ Teamcenter เข้ามาใช้ในการทำงาน ส่งผลให้ขั้นตอนวิเคราะห์ชิ้นงานของทีมวิศวกรเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว สามารถย้อนดูผลการวิเคราะห์ได้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่เริ่มโปรเจกต์ นำมาซึ่งการตัดสินใจที่เฉียบขาด และรวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้สามารถปรับปรุงชิ้นงานได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

 

_____________________

เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ NX แท้วันนี้! พร้อมบริการคุณภาพจาก Hitachi Sunway

.

ฟรี! Training โดย Certified Trainer by Siemens

และ Team Support คอยดูแล แก้ปัญหาให้ตลอดระยะเวลาการใช้งาน

.

ติดต่อขอใบเสนอราคา, DEMO หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

02-079-1814 กด 1

inbox : http://m.me/HSSTfanpage

LINE@: @hitachisunwayth

https://hitachisunway-thailand.co.th